













<p class="center" style="display: block; margin: 0px auto; text-align: center;"><span style="color: #000000;"><strong>การประชุมวิชาการด้านพิพิธภัณฑ์ 2021</strong></span></p> <p class="center" style="display: block; margin: 0px auto; text-align: center;"><span style="color: #000000;"><strong>มิวเซียมสายตายาว มองการณ์ไกลเพื่อสังคมสูงวัย</strong></span></p> <p class="center" style="display: block; margin: 0px auto; text-align: center;"><span style="color: #000000;"><strong>Farsighted Museum: Sighting forward to Aging Society</strong></span></p> <p><span style="color: #000000;"> </span></p> <p class="p1"><strong><span class="s1">ลงทะเบียนฟรี</span> <span class="s1">ที่</span><span class="s2"> <a href="https://bit.ly/3zyvdjk"><span class="s3">https://bit.ly/3zyvdjk</span></a></span></strong></p> <p class="p3"><span style="color: #ff0000;">พิเศษ<span class="s4"> !!!</span></span></p> <p class="p3">สำหรับผู้ลงทะเบียน<span class="s4"> 200 </span>ท่านแรกรับของที่ระลึกการประชุม<span class="s4"> (</span>จัดส่งทางไปรษณีย์<span class="s4">)</span></p> <p class="p3">สามารถเลือกฟังการประชุมได้<span class="s4"> 2 </span>ภาษาทั้งภาษาไทยและอังกฤษ</p> <p> </p> <p><span style="color: #000000;"><strong>1. ความเป็นมา</strong></span></p> <p style="padding-left: 30px;"><span style="color: #000000;"><strong>สังคมผู้สูงวัย</strong></span></p> <p><span style="color: #000000;"> ใน 3-4 ทศวรรษที่ผ่านมาโครงสร้างประชากรของโลกเปลี่ยนแปลงไปมากและอย่างรวดเร็ว “ดัชนีการสูงวัย” หรือ Aging Index เป็นตัวเลขที่บ่งชี้ถึงสภาวะสังคม ตามจำนวนประชากรเปรียบเทียบระหว่างจำนวนประชากรผู้สูงอายุ (60 ปี) และจำนวนประชากรวัยเด็ก (ต่ำกว่า 15 ปี)</span></p> <p><span style="color: #000000;"> ค่าดัชนีการสูงวัยจำแนกสังคมออกเป็น 4 กลุ่มดังต่อไปนี้</span></p> <p><span style="color: #000000;"> 1) สังคมเยาว์วัย หมายถึง สังคมที่มีค่าดัชนีต่ำกว่า 50</span></p> <p><span style="color: #000000;"> 2) สังคมสูงวัย (aging society) หมายถึง สังคมที่มีค่าดัชนีระหว่าง 50-119.9 เป็นสังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด หรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปีมากกว่าร้อยละ 7 ของประชากรทั้งหมด</span></p> <p><span style="color: #000000;"> 3) สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (aged society) หมายถึงสังคมที่มีค่าดัชนีระหว่าง 120-199.9 เป็นสังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เกินกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด หรือเป็นสังคมที่มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป เกินกว่าร้อยละ 14 ของประชากรทั้งหมด</span></p> <p><span style="color: #000000;"> 4) สังคมสูงวัยระดับสุดยอด (super aged society) หมายถึงสังคมที่ค่าดัชนีตั้งแต่ 200 ขึ้นไป เป็นสังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เกินกว่าร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด หรือเป็นสังคมที่มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป เกินกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด </span></p> <p><span style="color: #000000;"> ทั้งนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่าประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย (Aging Society) ตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ.2547-2548 (ค.ศ.2004-2005) คาดว่าประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในช่วงปี พ.ศ.2567-2568 (ค.ศ. 2024-2025) และจะเข้าสู่ “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” ในปี พ.ศ.2575 (ค.ศ.2032)</span></p> <p><span style="color: #000000;"> ปัจจุบันนี้มีประเทศราว 50 ประเทศที่เข้าสู่สังคมผู้สูงวัยแล้ว การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรนี้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการพัฒนาประเทศ หลายประเทศได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างทั้งในระบบบริหาร ระบบสุขภาพ การศึกษา การจ้างงาน การพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับความต้องการพื้นฐานและการพัฒนาประชากรกลุ่มใหม่นี้ ประเทศหลายประเทศไม่ได้พัฒนาเพียงแค่การรองรับความต้องการทางกายภาพของประชากรสูงวัย แต่รองรับความต้องการทางสังคม จิตใจ และการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้สูงวัยสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างต่อเนื่อง มีความเคารพและพึ่งพาตนเองได้ ไม่เป็นภาระของสังคมจนส่งผลให้กลายเป็นผู้ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง</span></p> <p><span style="color: #000000;"> เมื่อมองการทำงานกับผู้สูงอายุเพื่อรองรับสังคมผู้สูงวัยจากมุมมองของพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์เป็นองค์กรด้านการศึกษาที่สำคัญในการสร้างสรรค์การเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับคนทุกช่วงวัย หากก็น่าสนใจว่าเมื่อเปรียบเทียบแล้ว ผู้สูงวัยไม่ค่อยถูกรวมเข้ามา หรือเป็นศูนย์กลางการออกแบบการเรียนรู้ในลักษณะเดียวกับประชากรวัยเยาว์ เมื่อแนวโน้มประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้น นั่นหมายความว่าพิพิธภัณฑ์จะต้องรับมือกับประชากรกลุ่มนี้ซึ่งมีแนวโน้มจะเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่ขยายตัวในสัดส่วนที่ไล่ตามประชากรกลุ่มเดิมของพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์สมควรที่จะพัฒนาเพื่อรองรับผู้ชมที่เป็นผู้สูงวัย ด้วยการสำรวจและทำความเข้าใจอย่างจริงจังในเรื่องชีวภาพ กายภาพ จิตวิทยา พัฒนาการทางสังคมของประชากรกลุ่มสูงวัย พิพิธภัณฑ์ควรจะค้นหาและตระหนักในความต้องการที่แท้จริงของผู้สูงวัย เพื่อจะหาข้อบ่งชี้ถึงความเป็นไปได้ และอุปสรรคที่ขัดขวางการเรียนรู้ หรือกันผู้สูงวัยออกจากการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ ในขณะเดียวกันพิพิธภัณฑ์ควรค้นหาวิธีที่จะกระตุ้นให้ผู้สูงวัยเข้าพิพิธภัณฑ์ เรียนรู้จากนิทรรศการและมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ</span></p> <p><span style="color: #000000;"> </span></p> <p><span style="color: #000000;"> <strong>การดำเนินงานของ สพร.</strong></span></p> <p><span style="color: #000000;"> สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ในฐานะองค์กรที่ถูกจัดตั้งมาเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เห็นความจำเป็นที่จะส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการทำงานกับผู้ชมกลุ่มสูงวัย จึงได้ดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงวัยมาโดยต่อเนื่อง อาทิ จัดการบรรยายในหัวข้อผู้สูงวัย จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ จัดทำนิทรรศการโดยมีผู้สูงวัยเป็นภัณฑารักษ์ร่วม ทั้งนี้ก็เพื่อค้นหาเครื่องมือใหม่ ๆ ในการเรียนรู้และทำงานเพื่อรองรับสังคมสูงวัย และในปีพ.ศ. 2564 นี้ สพร.ดำเนินโครงการด้านวิชาการที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงวัย “Farsighted Museum” ใน 3 ระยะ กล่าวคือ</span></p> <p><span style="color: #000000;"> ระยะแรก เพื่อขยายแนวคิดเรื่องพิพิธภัณฑ์กับผู้สูงวัยออกไปให้กว้างขึ้น สพร.ได้สนับสนุนการวิจัยเชิงปฏิบัติการในประเด็นพิพิธภัณฑ์และผู้สูงวัย ให้กับพิพิธภัณฑ์และนักวิจัยที่สนใจประเด็นดังกล่าว จำนวน 10 โครงการ เพื่อกระตุ้นให้วงการพิพิธภัณฑ์ตื่นตัวกับเรื่องการทำงานเพื่อสนองกลุ่มคนที่ตามปกติแล้วไม่ได้อยู่ในใจกลางความสนใจของพิพิธภัณฑ์ รวมถึงเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานในโครงการที่จะเป็นต้นแบบในการพัฒนางานเพื่อผู้สูงวัยต่อไปในอนาคต ในกระบวนการคัดเลือก สพร.ได้จัดให้มีการอบรมออนไลน์เพื่อเพิ่มพูนความเข้าใจให้กับผู้เสนอโครงการ ทั้งนี้มีผู้สนใจส่งข้อเสนอเพื่อขอรับการสนับสนุนโครงการถึง 31 โครงการ ข้อเสนอมีความหลากหลายและมาจากพิพิธภัณฑ์หลายประเภท ซึ่งสะท้อนถึงความสนใจขององค์กรพิพิธภัณฑ์ที่มีต่อประเด็นผู้สูงวัย ว่ามีค่อนข้างมากและหลากหลาย ซึ่งล้วนควรได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลให้ดำเนินการในฐานะที่พิพิธภัณฑ์เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต</span></p> <p><span style="color: #000000;"> ระยะที่สอง จัดประชุมวิชาการในประเด็นพิพิธภัณฑ์และผู้สูงวัย ในวันที่ 10-12 สิงหาคม 2564 เพื่อสำรวจพรมแดนความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านผู้สูงวัยในพิพิธภัณฑ์ เรียนรู้จากประสบการณ์ของภาคประชาชนที่ทำงานด้านการศึกษาและจัดกิจกรรมร่วมกับกลุ่มผู้สูงอายุ ในขณะเดียวกันก็เชื่อมโยงความรู้และข้อเสนอที่ได้จากโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่ สพร.ให้ทุนสนับสนุนทั้ง 10 โครงการเข้าสู่เวทีการประชุม เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนนำความรู้ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติการมาต่อยอดในการดำเนินงานเพื่อรองรับสังคมสูงวัยต่อไป</span></p> <p><span style="color: #000000;"> ระยะที่สาม เป็นการเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการประชุมวิชาการและโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยการจัดพิมพ์หนังสือและเผยแพร่คลิปการบรรยายผ่านสื่อออนไลน์</span></p> <p><span style="color: #000000;"> </span></p> <p><span style="color: #000000;"><strong>2. พิพิธภัณฑ์สายตายาว (Farsighted Museum) : แนวคิด และประเด็นการประชุม</strong></span></p> <p><span style="color: #000000;"> </span></p> <p><span style="color: #000000;"> “สายตายาว” เป็นภาวะทางร่างกายที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่ก้าวเข้าสู่สภาวะสูงวัย การประชุมวิชาการในครั้งนี้ หยิบยกคำว่าสายตายาวมาใช้ เพื่อบ่งชี้ว่าเมื่อสังคมกำลังเข้าสู่สภาวะที่ประชากรมีหรือกำลังจะมีภาวะสายตายาว ซึ่งตามดัชนีสูงวัยแล้วก็เปรียบเสมือนการกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัยสมบูรณ์ และสังคมสูงวัยระดับสุดยอดตามลำดับ พิพิธภัณฑ์ก็ควรปรับสายตาของตนเองให้มองการณ์ไกลขึ้น เพื่อรองรับผู้สูงวัยซึ่งจะมีจำนวนมากขึ้นถึง 20% ของจำนวนประชากร</span></p> <p><span style="color: #000000;"> เพื่อทำความเข้าใจการทำงานของพิพิธภัณฑ์บนพื้นฐานของความแตกต่างของภาวะสูงวัย ซึ่งมีตั้งแต่ผู้สูงวัยที่ร่างกายแข็งแรง มีความแอคทีฟทางสังคม ผู้สูงวัยที่มีภูมิหลังทางสังคมวัฒนธรรม เศรษฐกิจที่แตกต่างกัน ผู้สูงวัยที่เข้าสู่ช่วงปลายของชีวิต ที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนที่ หรือผู้สูงวัยที่อยู่ในระยะท้ายของชีวิต การประชุมมิวเซียมสายตายาวจึงเน้นการเปิดพื้นที่ให้นักวิชาการและนักปฏิบัติการทางพิพิธภัณฑ์ได้สามารถสื่อให้สังคมเห็นถึงความหลากหลาย ทั้งในแง่สภาวะสูงวัย การทำงานบนพื้นที่ที่หลากหลายและวิธีการทำงานที่หลากหลายแนวทางของพิพิธภัณฑ์โดยงานประชุมมีประเด็นที่ต้องการสำรวจดังต่อไปนี้</span></p> <p><span style="color: #000000;"> </span></p> <p><span style="color: #000000;"> 1) ความเข้าใจต่างวัฒนธรรมหรือต่างกระบวนทัศน์ /Cross-Cultural Understanding</span></p> <p><span style="color: #000000;"> 2) ความเข้าใจข้ามรุ่น /Cross-Generation Understanding</span></p> <p><span style="color: #000000;"> 3) การสร้างสรรค์และนวัตกรรม /Creativity and Innovation</span></p> <p><span style="color: #000000;"> 4) ดิจิทัลและเทคโนโลยี / Digital and Technology</span></p> <p><span style="color: #000000;"> 5) อารยสถาปัตยกรรม / Universal Design</span></p> <p><span style="color: #000000;"> 6) การพัฒนาศักยภาพสมองและความมั่นคงทางจิตใจ / Brain Potentials and Mental Development</span></p> <p><span style="color: #000000;"> 7) การสร้างความสุขสูงวัยอย่างยั่งยืน / Sustainable Aging Happiness Conceiving</span></p> <p><span style="color: #000000;"> 8) การถ่ายทอดศักยภาพสู่ผู้อื่น / Potentiality Transferring</span></p> <p><span style="color: #000000;"> 9) ความประสงค์ของชีวิต / The Last Breathing</span></p> <p><span style="color: #000000;"> </span></p> <p><span style="color: #000000;"> อนึ่ง การประชุมให้ความสนใจกับคำสำคัญที่เป็นหัวใจของความยั่งยืนทางสังคม (social sustainability) นั่นคือ Intergeneration approach ทั้งนี้ ก็ด้วยความตระหนักว่าผู้สูงวัยในฐานะที่เป็นผู้ที่มาก่อน และอยู่ในบริบททางสังคมที่หลากหลาย ย่อมต้องมีประสบการณ์ มีความรู้ มีบทเรียน มีความหวังต่อสังคม ที่สามารถส่งต่อความรู้ ประสบการณ์ แรงบันดาลใจไปยังคนรุ่นหลังเพื่อสร้างความต่อเนื่องของความรู้ ให้สังคมไม่ตัดขาดจากกัน เช่นเดียวกัน คนรุ่นหลังก็มีประสบการณ์ที่แตกต่างที่คนรุ่นก่อนอาจจะไม่ชำนาญเท่า เช่น ทักษะการใช้เครื่องมือดิจิทัล ทักษะการผลิตสื่อที่หลากหลาย หรือความรู้ที่แตกต่างออกไป อันเป็นผลจากการเข้าถึงพื้นที่ข้อมูลที่ต่างจากคนรุ่นก่อน ความแตกต่างทั้งหลายเหล่านี้ หากถูกนำมาใช้อย่างสร้างสรรค์ก็จะเกิดการถ่ายทอดและเกิดการเรียนรู้ใหม่ของคนในวัยต่าง ๆ ทำให้สังคมมีพลวัตและมีความยั่งยืน </span></p> <p> </p> <p><span style="color: #000000;"><strong>3. วัตถุประสงค์</strong></span></p> <p><span style="color: #000000;"> 1) เพื่อรวบรวมองค์ความรู้และปฏิบัติการด้านพิพิธภัณฑ์เพื่อผู้สูงวัย</span></p> <p><span style="color: #000000;"> 2) เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้านผู้สูงวัยพิพิธภัณฑ์ นักปฏิบัติการพิพิธภัณฑ์ นักการศึกษาพิพิธภัณฑ์ และผู้บริหารพิพิธภัณฑ์</span></p> <p><span style="color: #000000;"> 3) เพื่อสร้างการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานพิพิธภัณฑ์เพื่อผู้สูงวัยในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ</span></p> <p><span style="color: #000000;"> 4) เพื่อจุดประเด็นเรื่องบทบาทของพิพิธภัณฑ์ในสังคมผู้สูงวัยให้เป็นที่รับรู้ในวงกว้าง</span></p> <p><span style="color: #000000;"> </span></p> <p><span style="color: #000000;"><strong>4. กลุ่มเป้าหมาย</strong></span></p> <p><span style="color: #000000;"> 1) นักปฏิบัติการพิพิธภัณฑ์ นักการศึกษา และภัณฑารักษ์</span></p> <p><span style="color: #000000;"> 2) นักออกแบบ สถาปนิกด้านอารยสถาปัตยกรรม</span></p> <p><span style="color: #000000;"> 3) นักวิจัย ด้านผู้สูงอายุ</span></p> <p><span style="color: #000000;"> 4) สาธารณชน</span></p> <p> </p> <p><span style="color: #000000;"><strong>5. ผู้จัดงาน</strong></span></p> <p><span style="color: #000000;"> ฝ่ายพัฒนาองค์ความรู้พิพิธภัณฑ์ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ</span></p> <p> </p> <p><span style="color: #000000;"><strong>6. วัน เวลา</strong></span></p> <p> 16-18 <span class="s1">กันยายน</span> 2564 9.00 <span class="s1">น</span>. – 17.00 <span class="s1">น</span>.</p> <p> </p> <p><span style="color: #000000;"><strong>7. ช่องทาง</strong></span></p> <p> Facebook Live : Museum Siam</p> <p> ZOOM</p> <p> </p> <p><span style="color: #000000;"><strong>8. องค์กรร่วมจัด</strong></span></p> <p><span style="color: #000000;"> สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย</span></p> <p><span style="color: #000000;"> คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร</span></p> <p><span style="color: #000000;"> คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร</span></p> <p><span style="color: #000000;"> คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์</span></p> <p><span style="color: #000000;"> ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)</span></p> <p><span style="color: #000000;"> สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล</span></p> <p><span style="color: #000000;"> หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)</span></p> <p><span style="color: #000000;"> หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร</span></p> <p class="p1"> พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ ฟิลิปปินส์</p> <p> </p> <p><span style="color: #000000;"><strong>9. องค์ปาฐกและวิทยากร</strong></span></p> <p><span style="color: #000000;"> <strong>องค์ปาฐก</strong> จาก 4 ประเทศที่ล้วนเข้าสู่ประเทศสังคมสูงวัย ได้แก่</span></p> <p><span style="color: #000000;"> 1) Dr.Huang, Sing-Da (Head of Education Department of National Taiwan Museum) ปัจจุบันไต้หวันกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super-Aged Society) และได้มีการเตรียมพร้อมที่จะเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอดอย่างเป็นระบบ มีการสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่มุ่งสร้าง co-learning มีการจัดเตรียมโปรแกรมการเรียนรู้สำหรับผู้สูงวัย พิพิธภัณฑ์มีส่วนร่วมด้วยการทำงานกับศูนย์สุขภาวะและไปเยี่ยมผู้สูงอายุที่มีปัญหาความจำ ตลอดจนทำงานกับผู้ดูแลผู้สูงอายุ นอกจากนี้ มีการสร้างเครือข่ายพิพิธภัณฑ์สร้างสรรค์ในการให้บริการผู้สูงวัยด้วย</span></p> <p><span style="color: #000000;"> 2) </span><span class="s1">Thomas Kuan </span>ผู้ขับเคลื่อนการทำงานร่วมกับกลุ่มผู้สูงอายุ ด้วยแนวคิดและเครือข่ายมหาวิทยาลัยวัยที่สาม<span class="s1"> (University of the Thirs Age </span>หรือ<span class="s1"> U3A) </span>ประเทศสิงคโปร์<span class="s1"><span class="Apple-converted-space"> </span></span>ในบรรดาประเทศอาเซียนนั้น สิงคโปร์และไทยเป็นประเทศที่เข้าสู่สังคมสูงวัยก่อนประเทศอื่น ๆ โดยสิงคโปร์เข้าสู่สังคมสูงวัยเป็นอันดับแรกในอาเซียน สิงคโปร์มีการจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานด้านกายภาพ และด้านการเรียนรู้ที่เอื้อต่อผู้สูงวัย ซึ่งมหาวิทยาลัยวัยที่สามเป็นเครือข่ายที่ขับเคลื่อนการเรียนรู้แก่ผู้สูงวัยที่สำคัญเครือข่ายหนึ่ง</p> <p><span style="color: #000000;"> 3) Pia Hovi-Assad ภัณฑารักษ์ประจำพิพิธภัณฑ์ศิลปะปอรี ประเทศฟินแลนด์ ฟินแลนด์เป็นประเทศที่อัตราเร่งของประชากรผู้สูงวัยสูงที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ในปี 2000 ฟินแลนด์มีประชากรอายุ 65 ราว 15% ของจำนวนประชากร แต่ได้เพิ่มขึ้นเป็น 22 เปอร์เซ็นต์ในปี 2019 และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 28% ในปี 2050 พิพิธภัณฑ์ศิลปะปอรีได้ดำเนินงานที่สำคัญหลายอย่างเพื่อผู้สูงวัย โดยเน้นการสร้างสรรค์ ศิลปะ การสัมพันธ์กับชุมชน และสร้างการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม</span></p> <p><span style="color: #000000;"> 4) คุณหญิงจำนงศรี หาญเจนลักษณ์ บริษัทชีวามิตร วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด ผู้ขับเคลื่อนพินัยกรรมชีวิตสิทธิการตาย</span></p> <p> </p> <p><span style="color: #000000;"> <strong>วิทยากร</strong> ประกอบด้วย</span></p> <p><span style="color: #000000;"> 1) ตัวแทนโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่ได้รับการสนับสนุนจากสพร.จำนวน 10 โครงการ</span></p> <p><span style="color: #000000;"> 2) ผู้สนใจที่เสนอบทคัดย่อและผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการตัดสินให้เข้าร่วมการนำเสนอ จำนวน 8 ราย</span></p> <p><span style="color: #000000;"> 3) ผู้ปฏิบัติงานพิพิธภัณฑ์จาก 6 ประเทศในเอเชีย</span></p> <p> </p> <p><span style="color: #000000;"><strong>10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ</strong></span></p> <p><span style="color: #000000;"> 1) ได้องค์ความรู้เกี่ยวกับการทำงานระหว่างพิพิธภัณฑ์และผู้สูงวัย</span></p> <p><span style="color: #000000;"> 2) เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานพิพิธภัณฑ์และผู้สูงวัย</span></p> <p><span style="color: #000000;"> 3) เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษาในพิพิธภัณฑ์ไทยและประเทศเพื่อนบ้าน</span></p> <p><span style="color: #000000;"> 4) กระตุ้นให้พิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยให้ความสำคัญกับการปฏิบัติงานที่รองรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรและผู้สูงวัย</span></p> <p><span style="color: #000000;"> 5) กระตุ้นให้สังคมวงกว้างมองเห็นบทบาทของพิพิธภัณฑ์ในสังคมสูงวัย</span></p> <p> </p> <p><span style="color: #000000;"><strong>11. กำหนดการสำคัญ</strong></span></p> <p class="p1"><strong> 16 <span class="s1">กันยายน</span> 2564</strong></p> <p class="p1"><strong> September 16th, 2021</strong></p> <p class="p1"><strong> 9:00-17:00 GM+7 (Bangkok)</strong></p> <p class="p1"> .</p> <p class="p2"> ปาฐกถา</p> <p class="p2"> ปาฐกถาพิพิธภัณฑ์<span class="s2">: </span>เสน่ห์เร้นลึก พลังบันดาลใจ ความตระหนักในคุณค่าชีวิต</p> <p class="p2"> คุณหญิงจำนงศรี หาญเจนลักษณ์</p> <p class="p2"> ปาฐกถาพิพิธภัณฑ์คือชีวิต<span class="s2">!</span></p> <p class="p2"> ดร<span class="s2">.</span>หวง ซิงต้า<span class="s2"> (</span>ไต้หวัน<span class="s2">)</span></p> <p class="p2"> ปาฐกถาบทบาทที่เพิ่มขึ้นของพิพิธภัณฑ์ในสังคมสูงวัย</p> <p class="p2"> เปีย โฮวี<span class="s2"> (</span>ฟินแลนด์<span class="s2">)</span></p> <p class="p2"> ปาฐกถา พิพิธภัณฑ์ แหล่งเรียนรู้สำหรับผู้สูงวัย ในมุมมองของเอเชียตะวันออก</p> <p class="p2"> โทมัส ควน<span class="s2"> (</span>สิงคโปร์<span class="s2">)</span></p> <p class="p1"> .</p> <p class="p1"> Keynote Speech:</p> <p class="p1"> - Khunying Chamnongsri Hanchanlash (Thailand): ”Museum: Fascination, Inspiration, Affirmation"</p> <p class="p1"> - Dr. Huang, Sing-Da (Taiwan): “Museum is Life!</p> <p class="p1"> - Ms. Pia Hovi (Finland): “The Expanding Role of the Museum in an Aging Society”.</p> <p class="p1"> - Mr. Thomas Kuan (Singapore): “Museums as Resources for Seniors an East-Asian Perspective”.</p> <p class="p1"> .</p> <p class="p2"> ท่านสามารถร่วมการประชุมวิชาการได้ที่</p> <p class="p1"> Please find the link below to enter the Zoom Webinar <a href="https://us06web.zoom.us/j/87084960991">https://us06web.zoom.us/j/87084960991</a></p> <p class="p1"> </p> <p><img src="https://www.museumsiam.org/upload/content_4474/2021_09/1631842963_17.jpeg" alt="" width="700" height="394" /> </p> <p> </p> <p class="p1"><strong> 17 <span class="s1">กันยายน</span> 2564</strong></p> <p class="p1"><strong> September 17th, 2021</strong></p> <p class="p1"><strong> 9:00-12:00 GM+7 (Bangkok)</strong></p> <p class="p1"> .</p> <p class="p2"> วงอภิปรายในประเด็น</p> <p class="p2"> ความเข้าใจต่างวัฒนธรรมหรือกระบวนทัศน์</p> <p class="p1"> Panels:</p> <p class="p1"> Cross-Generation Understanding</p> <p class="p1"> .</p> <p class="p2"> ท่านสามารถร่วมการประชุมวิชาการได้ที่</p> <p class="p1"> Please find the link below to enter the Zoom Webinar <a href="https://us06web.zoom.us/j/83150711808">https://us06web.zoom.us/j/83150711808</a></p> <p> </p> <p><img src="https://www.museumsiam.org/upload/content_4474/2021_09/1631842747_788.jpeg" alt="" width="700" height="394" /></p> <p> </p> <p class="p1"><strong> 17 <span class="s1">กันยายน</span> 2564</strong></p> <p class="p1"><strong> September 17th, 2021</strong></p> <p class="p1"><strong> 9:00-12:00 GM+7 (Bangkok)</strong></p> <p class="p1"> .</p> <p class="p2"> วงอภิปรายในประเด็น</p> <p class="p2"> การสร้างสรรค์และนวัตกรรม</p> <p class="p1"> Panels:</p> <p class="p1"> Creativity and Innovation</p> <p class="p2"> ท่านสามารถร่วมการประชุมวิชาการได้ที่</p> <p class="p1"> Please find the link below to enter the Zoom Webinar <a href="https://us06web.zoom.us/j/82263027596">https://us06web.zoom.us/j/82263027596</a></p> <p> </p> <p><img src="https://www.museumsiam.org/upload/content_4474/2021_09/1631842748_604.jpeg" alt="" width="700" height="394" /></p> <p> </p> <p class="p1"><strong> 17 <span class="s1">กันยายน</span> 2564</strong></p> <p class="p1"><strong> September 17th, 2021</strong></p> <p class="p1"><strong> 9:00-12:00 GM+7 (Bangkok)</strong></p> <p class="p1"> .</p> <p class="p2"> วงอภิปรายในประเด็น</p> <p class="p2"> เรื่องเล่าและความทรงจำ</p> <p class="p1"> Panels:</p> <p class="p1"> Memory Telling</p> <p class="p2"> ท่านสามารถร่วมการประชุมวิชาการได้ที่</p> <p class="p1"> Please find the link below to enter the Zoom Webinar <a href="https://us06web.zoom.us/j/82820925281">https://us06web.zoom.us/j/82820925281</a></p> <p> </p> <p><img src="https://www.museumsiam.org/upload/content_4474/2021_09/1631842749_542.jpeg" alt="" width="700" height="394" /></p> <p> </p> <p class="p1"><strong> 17 <span class="s1">กันยายน</span> 2564</strong></p> <p class="p1"><strong> September 17th, 2021</strong></p> <p class="p1"><strong> 14:00-17:00 GM+7 (Bangkok)</strong></p> <p class="p1"> .</p> <p class="p2"> วงอภิปรายในประเด็น</p> <p class="p2"> งานนิทรรศการเพื่อสังคมสูงวัย</p> <p class="p1"> Panels:</p> <p class="p1"> Exhibition for Aging Society</p> <p class="p2"> ท่านสามารถร่วมการประชุมวิชาการได้ที่</p> <p class="p1"> Please find the link below to enter the Zoom Webinar <a href="https://us06web.zoom.us/j/81617293885">https://us06web.zoom.us/j/81617293885</a></p> <p> </p> <p><img src="https://www.museumsiam.org/upload/content_4474/2021_09/1631842750_442.jpeg" alt="" width="700" height="394" /></p> <p> </p> <p class="p1"><strong> 17 <span class="s1">กันยายน</span> 2564</strong></p> <p class="p1"><strong> September 17th, 2021</strong></p> <p class="p1"><strong> 14:00-17:00 GM+7 (Bangkok)</strong></p> <p class="p1"> .</p> <p class="p2"> วงอภิปรายในประเด็น</p> <p class="p2"> ผู้สูงวัยกับงานฟื้นฟูมรดกวัฒนธรรม</p> <p class="p1"> Panels:</p> <p class="p1"> Elders and Cultural Heritage Rehabilitation</p> <p class="p2"> ท่านสามารถร่วมการประชุมวิชาการได้ที่</p> <p class="p1"> Please find the link below to enter the Zoom Webinar <a href="https://us06web.zoom.us/j/83632482458">https://us06web.zoom.us/j/83632482458</a></p> <p> </p> <p><img src="https://www.museumsiam.org/upload/content_4474/2021_09/1631842751_435.jpeg" alt="" width="700" height="394" /></p> <p> </p> <p class="p1"><strong> 17 <span class="s1">กันยายน</span> 2564</strong></p> <p class="p1"><strong> September 17th, 2021</strong></p> <p class="p1"><strong> 14:00-17:00 GM+7 (Bangkok)</strong></p> <p class="p1"> .</p> <p class="p2"> วงอภิปรายในประเด็น</p> <p class="p2"> มองชุมชนจากมุมผู้สูงวัย</p> <p class="p1"> Panels:</p> <p class="p1"> Community in Aging Perspective</p> <p class="p2"> ท่านสามารถร่วมการประชุมวิชาการได้ที่</p> <p class="p1"> Please find the link below to enter the Zoom Webinar <a href="https://us06web.zoom.us/j/88044293286">https://us06web.zoom.us/j/88044293286</a></p> <p> </p> <p><img src="https://www.museumsiam.org/upload/content_4474/2021_09/1631842752_799.jpeg" alt="" width="700" height="394" /></p> <p> </p> <p class="p1"><strong> 18 <span class="s1">กันยายน</span> 2564</strong></p> <p class="p1"><strong> September 18th, 2021</strong></p> <p class="p1"><strong> 9:00-12:00 GM+7 (Bangkok)</strong></p> <p class="p1"> .</p> <p class="p2"> วงอภิปรายในประเด็น</p> <p class="p2"> พิพิธภัณฑ์และสังคมผู้สูงวัยในเอเชีย</p> <p class="p1"> Panels:</p> <p class="p1"> Museum and Aging Society in Asia</p> <p class="p2"> ท่านสามารถร่วมการประชุมวิชาการได้ที่</p> <p class="p1"> Please find the link below to enter the Zoom Webinar <a href="https://us06web.zoom.us/j/87937411622">https://us06web.zoom.us/j/87937411622</a></p> <p class="p1"> </p> <p class="p1"><img src="https://www.museumsiam.org/upload/content_4474/2021_09/1631842963_144.jpeg" alt="" width="700" height="394" /></p> <p class="p1"> </p> <p class="p1"><strong> 18 <span class="s1">กันยายน</span> 2564</strong></p> <p class="p1"><strong> September 18th, 2021</strong></p> <p class="p1"><strong> 14:00-17:00 GM+7 (Bangkok)</strong></p> <p class="p1"> .</p> <p class="p2"> สนทนาโต๊ะกลมโดยองค์กรร่วมจัด</p> <p class="p2"> ความท้าทาย ในการพัฒนาพิพิธภัณฑ์เพื่อรองรับสังคมสูงวัย</p> <p class="p1"> Roundtable by Co-organizers:</p> <p class="p1"> Challenges in Creating Museums for Aging Society</p> <p class="p1"> .</p> <p class="p2"> ท่านสามารถร่วมการประชุมวิชาการได้ที่</p> <p class="p1"> Please find the link below to enter the Zoom Webinar <a href="https://us06web.zoom.us/j/89337262530?fbclid=IwAR2CfTtzymrJ3bILZN7i71TrS8uZ0w14Z1GPRLtK4ju-oTKksKFqpue-5Ko">https://us06web.zoom.us/j/89337262530</a></p> <p class="p1"> </p> <p class="p1"><img src="https://www.museumsiam.org/upload/content_4474/2021_09/1631842965_258.jpeg" alt="" width="700" height="394" /></p> <p> </p> <p><strong><span style="color: #000000;">12. สอบถามเพิ่มเติม</span></strong></p> <p><span style="color: #000000;"> ฝ่ายพัฒนาองค์ความรู้พิพิธภัณฑ์</span></p> <p><span style="color: #000000;"> สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.)</span></p> <p><span style="color: #000000;"> <a style="color: #000000;" href="http://www.museumsiam.org/museumforum2021">www.museumsiam.org/museumforum2021</a></span></p> <p><span style="color: #000000;"> อีเมล farsightedmuseum@gmail.com โทร </span>091-787-3124</p> <p> </p> <p class="p1"><strong><span class="s1">ลงทะเบียนฟรี</span> <span class="s1">ที่</span><span class="s2"> <a href="https://bit.ly/3zyvdjk"><span class="s3">https://bit.ly/3zyvdjk</span></a></span></strong></p> <p class="p3"><span style="color: #ff0000;">พิเศษ<span class="s4"> !!!</span></span></p> <p class="p3">สำหรับผู้ลงทะเบียน<span class="s4"> 200 </span>ท่านแรกรับของที่ระลึกการประชุม<span class="s4"> (</span>จัดส่งทางไปรษณีย์<span class="s4">)</span></p> <p class="p3">สามารถเลือกฟังการประชุมได้<span class="s4"> 2 </span>ภาษาทั้งภาษาไทยและอังกฤษ</p>
วันที่แก้ไขล่าสุด : 17 กันยายน 2564