























<h1><span class="s2">“ไอ เลิฟ คันทรี</span><span class="s2"> มิวสิ</span><span class="s2">ก</span><span class="s2">”</span></h1> <p> </p> <p style="text-align: justify;"><span class="s3"> หมวกคาวบอย รองเท้า</span><span class="s3">บู๊ต</span><span class="s3"> หนุ่มสาวชนบท เสียงเอื้อน กีตาร์โปร่ง </span><span class="s3">นี่</span><span class="s3">คือสิ่งแรกๆ ที่หลายคนนึกถึง</span><span class="s3">เมื่อได้ยินคำว่า “ดนตรีคันทรี” หรือ</span><span class="s3">ดนตรีลูกทุ่ง อีกหนึ่งแนวเพลงที่เป็นที่นิยมอ</span><span class="s3">ย่างมากในสหรัฐอเมริกา </span><span class="s3">ขณะเดียวกัน</span><span class="s3">หลายประเทศก็</span><span class="s3">มี “ดนตรีคัน</span><span class="s3">ทรี” เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมประจำชาติ</span><span class="s3">ข</span><span class="s3">องตนเอง</span><span class="s3">ในบ้านเราที่ดนตรีลูกทุ่งฝังรากลึกกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ประเทศเกาหลีใต้กับเพลงทร็อตที่มากด้วยเสน่ห์ </span><span class="s3">ประเทศญี่ปุ่น</span><span class="s3">ก็มีเพลงเอ็งกะ </span><span class="s3">ที่บอกเล่า</span><span class="s3">เรื่องร</span><span class="s3">าวประวัติศาสตร์</span></p> <p style="text-align: justify;"> </p> <p style="text-align: justify;"><span class="s3"> ดนต</span><span class="s3">รีท้องถิ่นกลิ่นอายลูก</span><span class="s3">ทุ่ง</span><span class="s3">จ</span><span class="s3">ากหล</span><span class="s3">ายป</span><span class="s3">ระเ</span><span class="s3">ทศ ต่างม</span><span class="s3">ี</span><span class="s3">การใช้ภาษาที่จริงใจและตรงไปตรงมา </span><span class="s3">บอกเล่าความคิดถึง ความอดทน การสู้ชีวิต ความผิดหวังน้อยใจในโชคชะตา แต่ก็ยังมีความหวังได้ ส</span><span class="s3">นุกได้ในเวลาที่สมควรกับงานรื่นเริง ท่ามกลางบริบทลมฟ้าอากาศที่แตกต่างกันไป </span><span class="s3">ซึ่งความไม่ซับซ้อนนี้เองที่ทำให้ผู้คนหลงรักแนว</span><span class="s3">เ</span><span class="s3">พลงนี้ได้ง่ายๆ</span> <span class="s3">กลายเป็นอีกหนึ่งแนวดนตรีที่กระทบใจ</span><span class="s3">และมีความเป็นสากล</span><span class="s3"><br /></span></p> <p style="text-align: justify;"><span class="s3">เราจะชวนคุณมาฟังเพล</span><span class="s3">งเหล่านี้กัน </span></p> <p style="text-align: justify;"> </p> <p style="text-align: justify;"><strong><span class="s2">(1) คันทรีฝั่งอเมริกา มาวิน!</span></strong></p> <p style="text-align: justify;"><span class="s3"> อานิสง</span><span class="s3">ส์</span><span class="s3">ความยิ่งใหญ่ของขนาดประเทศ</span><span class="s3">และอุตสาหกรรมเพลงอเมริกา ทำให้เพลงคันทรีอเมริกามาวิน ไม่ใช่แค่ในประเทศ แต่ขยายอาณาจักรออกไป</span><span class="s3">ยั</span><span class="s3">งกลุ่มผู้ฟังทั่วโลก</span><span class="s3">ที่ในวันนี้ผู้คนรู้จักเพลง Take me home,</span> <span class="s3">Country Road เพลงที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของศิลปิน “จอห์น เดนเวอร์” (ปล่อยออกมาใน ค.ศ. 1971) ว่าด้ว</span><span class="s3">ยความรู้สึกคิดถึงธรรมชาติและบ้านเกิด</span><span class="s3">ในเวส</span><span class="s3">ต์</span><span class="s3">เวอร์จิเนีย (ชนิดชวนน้ำตาไหล) และนับเป็นตัวอย่างช</span><span class="s3">ั</span><span class="s3">ดเจนที่สะท้อนคาแรกเตอร์ของดนตรีคันทรี</span><span class="s3">ท่ามกลางเพลงคันทรีที่มีมิติหลากหลาย เปลี่ยนไปตามยุคสมัย</span><span class="s3">และบริบทของสังคม</span></p> <p> </p> <p><img class="center" style="display: block; text-align: center; margin: 0px auto 0px auto;" src="https://www.museumsiam.org/upload/content_3725/2019_08/1565154535_490.jpg" alt="" width="400" height="266" /></p> <p class="center" style="display: block; margin: 0px auto; text-align: center;"><img src="https://www.museumsiam.org/upload/content_3725/2019_08/1565154534_507.jpg" alt="" width="400" height="225" /> </p> <p class="center" style="display: block; margin: 0px auto; text-align: center;"> </p> <p style="text-align: justify;"><span class="s3"> มีหลายหลักฐานที่บอกได้ว่าแนวเพลงคันทรีนี้เกิดขึ้นม</span><span class="s3">าในสหรัฐอเมริกาตอนใต้และทางภูเขาแอ</span><span class="s3">ป</span><span class="s3">พา</span><span class="s3">เ</span><span class="s3">ล</span><span class="s3">เชียน</span><span class="s3">ที่ได้แก่ รัฐเทนเนสซี เวอร์จิเนีย เวสต์เวอร์จิเนีย </span><span class="s3">แ</span><span class="s3">ละ</span><span class="s3">เคนทักกี โดยบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีท้องถิ่นที่ไม่ซับซ้อน</span><span class="s3">อัน</span><span class="s3">ได้แก่ เครื่องสายอย่างกีตาร์ ไวโอลิน บันโจ แมนโดลิน เครื่องเป่าอย่างฮาร์โมนิกาและเครื่องให้จ</span><span class="s3">ังหวะง่ายๆ อย่างกลอง เป็นต้น ต่อมาพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษ 1920 โดยมีอีกหนึ่งข้อมูลน่ารู้</span><span class="s3">คือ ในเวล</span><span class="s3">า</span><span class="s3">นั้นยังไม่</span><span class="s3">มีคำว่าดนตรีคันทรีเกิดขึ้น จนกระทั่งทศวรรษ 1940 ก่อนเป็นที่รู้จักแพร่หลายในทศวรรษ 1970 </span></p> <p style="text-align: justify;"> </p> <p style="text-align: justify;"><span class="s3"> เวลาผ่านไป เราได้รู้ว่านักร้องเพลงคันทรีไม่ได้มีแค่ </span><span class="s3">“จอ</span><span class="s3">ห์</span><span class="s3">น เดนเวอร์” ยังมีศิลปินเพลงคันทรี (เคยคันทรี</span><span class="s3">และคันทรีเป็นครั้งคราว) ที่เราอาจร้อง “อ๋อ” เมื่อได้ทำค</span><span class="s3">ว</span><span class="s3">ามรู้จักมากขึ้น หนึ่งในนั้นคือ “การ์ธ บรูกส์” นักร้องนัก</span><span class="s3">แต่งเพลงคันทรีร่วมสมัย มีทั้งผลงานคันทรีป๊อปและคันทรีร็อก หนึ่งในผู้ประสบความสำเร็จในวงการเพลง</span><span class="s3">อเมริ</span><span class="s3">กัน</span><span class="s3">มากที่สุด หรือแม้แต่ศิลปินวง “ดิอีเกิลส์” กับเพลง “Hotel California” ตัวอย่างแนวเพลงคันทรีร็อกที่</span><span class="s3">โ</span><span class="s3">ด่งดังตลอดกาล</span><span class="s3"> ก่อนจะมีคำถามว่า</span> <span class="s3">แล้ว “จอห์น</span><span class="s3">นี่</span><span class="s3"> แคช” ล่ะ ใช่แล้ว เขาคือหนึ่งในนักดนตรีที่มีอิทธิพลมากที่สุดในศตวรรษที่ 20 และศิลปินแนวคันทรีโดยหลัก</span><span class="s3"> ก่อนมีผลงานหลายแนวเพลงออกมา เช่นเดียวกับ “เอลวิส เพรสลีย์” ราชาร็อกแอนด์โรล</span><span class="s3">ที่ผสานแนวเพลงคันทรีในผลงานแนวเพลง</span><span class="s3">ร</span><span class="s3">็อกอะบิลลี</span> <span class="s3">(rockabilly)</span> <span class="s3">ที่ได้รับความนิยม</span></p> <p> </p> <p style="text-align: left;"> <img src="https://www.museumsiam.org/upload/content_3725/2019_08/1565154541_210.png" alt="" width="200" height="198" /><img alt="" /> <img src="https://www.museumsiam.org/upload/content_3725/2019_08/1565154535_332.jpg" alt="" width="356" height="200" /></p> <p> </p> <p style="text-align: justify;"><span class="s3"> นอกจากนี้ยังมีชื่อศิลปินที่คุณอาจรู้จัก ได้ยินเสียงและเห็นหน้าค่าตากันบ่อย ได้แก่</span> <span class="s3">“เบลค เชลตัน” ศิลปิ</span><span class="s3">นแนวคันทรีชื่อดังที่มีบ้านเกิดในแนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี กรรมการรายการ The Voice US ตามมาด้วย ราชินีเพลงคันทรี “แคร</span><span class="s3">ี</span><span class="s3">่ อันเดอร์วูด”</span><span class="s3"> และที่ลืมไม่ได้คือ “เทย์เลอร์ สวิฟต์” กับผลงานแจ้งเกิดในอัลบั้มแรก โดยเฉพาะซิงเกิล “Our Song”</span> <span class="s3">ที่ขึ้นสู่อันดับหนึ่งบิลบอร์ดชาร์</span><span class="s3">ทของดนตรีคันทรียอดนิยม...และนี่เป็นแค่ส่วนหนึ่งของความสนุกของดนตรีคันทรีฝั่งอเมริกา</span></p> <p style="text-align: justify;"> </p> <p><img class="center" style="display: block; margin: 0px auto; text-align: center;" src="https://www.museumsiam.org/upload/content_3725/2019_08/1565154535_385.jpg" alt="" width="400" height="300" /> </p> <p style="text-align: justify;"><strong><em><span class="s2">เพลงลูกทุ่งอเมริกายุ</span><span class="s2">ค Spotify...</span></em></strong></p> <p style="text-align: justify;"><span class="s3">คุณรู้ไหมว่าทุกวันที่ 17 กันยายนของทุกปีเป็นวันเพลงคันทรีสากล (International Country Music Day) และเดือนเดียวกันนี้ใน</span> <span class="s3">ค.ศ. 2018 “Spo</span><span class="s3">tify” บริการสตรีมเพลงดิจิทัล พอดแคสต์ และวิดีโอ ซึ่งเปิดให้เราเข้าถึงเนื้อหาและเพลงนับล้านจากศิลปินทั่วทุกมุมโลกเ</span><span class="s3">ล</span><span class="s3">ยถือโอกาสเล่าสู่กันถึงวงการเพลงคันทรีในมุมสนุกๆ ว่าเวลานี้เพลงคันทรียังคงอยู่ในใจผู้คนอเมริกัน และยังมีเมืองแนชวิล</span><span class="s3">ล์</span><span class="s3">ของรัฐเทนเนสซี</span><span class="s3">เป็นเมือง</span><span class="s3">หลวง (มี Grand Ole Opry เวทีคันทรีที่มีประวัติยาวนาน และแม้แต่เทเลอร์ สวิฟต์</span> <span class="s3">ก็เดินทางมาตามฝันในวันที่เธอมีอายุเพียง</span> <span class="s3">14 ปี) </span></p> <p> </p> <p class="center" style="display: block; margin: 0px auto; text-align: center;"><img src="https://www.museumsiam.org/upload/content_3725/2019_08/1565155236_478.png" alt="" width="400" height="263" /></p> <p class="center" style="display: block; margin: 0px auto; text-align: center;"> </p> <p class="center" style="display: block; margin: 0px auto; text-align: center;"><img src="https://www.museumsiam.org/upload/content_3725/2019_08/1565155237_353.png" alt="" width="400" height="265" /></p> <p class="center" style="display: block; margin: 0px auto; text-align: center;"> </p> <p style="text-align: justify;"><span class="s3"> ในวันนี้ความชื่นชอบเพลงคันทรี</span><span class="s3">ได้หลั่งไหลไปทั่วโลก “Spotify” เองพบว่าส่วนแบ่งของการสตรีมเพลงคันทรีทั่วโลก นอกอเมริกาตั้งแต่</span> <span class="s3">ค.ศ. </span><span class="s3">2015 เพิ่มขึ้นถึง 21% และนั่นทำให้ศิลปินเพลงคันทรีหลายคนมีฐานแฟนเพลงมากขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว ทำให้ไม่ใช่แค่เพลงที่เดินท</span><span class="s3">า</span><span class="s3">ง เพราะศิลปินเองก็อาจต้องเตรียมตัวเก็บกระเป๋าออกเดินทางด้วย ยกตัวอย่างเช่น เคซี</span><span class="s3">ย์</span><span class="s3"> มัสเกรฟส์ (Kacey Musgraves) นักร้องเพลงคันทรี 6 รางวัลแ</span><span class="s3">กรมมี่</span><span class="s3">ที่มีฐานแฟนคลับขนาดใหญ่ในสหราชอาณาจักร จนทำให้เกิดงาน Spotify Fans First Event ของเธอขึ้น เพื่อชวนแฟนๆ มาร่วมฟัง</span><span class="s3">เ</span><span class="s3">พลง จิบชาที่คฤหาสน์ Space House ในกรุงลอนดอน เช่นเดียวกับวงคันทรี Old Dominion ที่มีแผนเดินทางไปยังยุโรปและสหราชอ</span><span class="s3">าณาจักร แถมด้วยแผนการเด</span><span class="s3">ินทางไปยังออสเตรเลียของแคร์รี่ อันเดอร์วู</span><span class="s3">ด</span> <span class="s3">ศิลปินหญิงที่โด่งดังที่สุดทั่วโลกบน Spotify</span></p> <p> </p> <p class="center" style="display: block; margin: 0px auto; text-align: center;"> <img src="https://www.museumsiam.org/upload/content_3725/2019_08/1565155238_634.png" alt="" width="400" height="266" /></p> <p class="center" style="display: block; margin: 0px auto; text-align: center;"> </p> <p class="center" style="display: block; margin: 0px auto; text-align: center;"><img src="https://www.museumsiam.org/upload/content_3725/2019_08/1565155239_762.png" alt="" width="400" height="262" /></p> <p style="text-align: justify;"> </p> <p style="text-align: justify;"><strong><span class="s2">(2) เอ็งกะ คันทรีฝั่งญี่ปุ่น</span></strong></p> <p style="text-align: justify;"><span class="s3"> ท</span><span class="s3">า</span><span class="s3">งฝั่</span><span class="s3">งแดนอาทิตย์อุทัยก็มีดนตรีลูกทุ่งกับเขาเหมือนกัน</span><span class="s3">ที่เรียกว่าดนตรีเอ็งกะ (Enka) และนับเป็นดนตรีที่บอกเล่าเรื่องราวความคิด ทัศนคติ การ</span><span class="s3">ใช้ชีวิตของชาวญี่ปุ่น สื่อสารผ่านการร้องที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว พาคุณย้อนกลับสู่ความวินเทจย้อนยุค </span><span class="s3">ชวนให้คนรุ่นก่อนคิดถึงเ</span><span class="s3">สี</span><span class="s3">ยงของ</span><span class="s3">ฮิบาริ มิโซระ “ราชินีเพลงเอ็งกะ” ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในญี่ปุ่น ในวันนี้เอ็งกะยังคงเป็นแนวเพลงที่ได้รับการพูดถึงในฐานะสมบัติ</span><span class="s3">ทางวัฒนธรรม แถมยังมีแฟนคลับติดตามอยู่พอตัว ที่ไม่แน่ว่าในอนาคตคุณอาจกลายมาเป็นแฟนตัวยงเมื่อกด Play เริ่มฟัง</span></p> <p> </p> <p><span class="s3"> <img src="https://www.museumsiam.org/upload/content_3725/2019_08/1565155656_998.jpg" alt="" width="267" height="200" /><img src="https://www.museumsiam.org/upload/content_3725/2019_08/1565155657_610.jpg" alt="" width="200" height="200" /></span></p> <p><span class="s3"> <img src="https://www.museumsiam.org/upload/content_3725/2019_08/1565155656_241.jpg" alt="" width="235" height="235" /><img src="https://www.museumsiam.org/upload/content_3725/2019_08/1565155656_791.jpg" alt="" width="235" height="235" /></span></p> <p> </p> <p style="text-align: justify;"><span class="s3"> ดนตรีเอ็งกะดั</span><span class="s3">้</span><span class="s3">งเดิมถือกำเนิด</span><span class="s3">ขึ้นในยุคเมจิ (ค.ศ.</span> <span class="s3">1868</span><span class="s3">-1912) มีอีกชื่อเรียกว่า Soshi Enka ก่อนถูกส่งต่อมาในยุคไทโช (ค.ศ. 1912</span><span class="s3">-</span><span class="s3">1926) ที่ในช่วงเวลา</span><span class="s3">นี้นักร้องข้างถนนได้เริ่มบรรเลงเพลงเอ็งกะด้วยเครื่องดนตรีอย่างไวโอลิน และเป็นช่วงเวลาที่นักดนตรีเอ็งกะอย่างโทชิโอะ ซากุระอิ (T</span><span class="s3">o</span><span class="s3">shio Sakurai) แจ้งเกิด โดยเขาเองยัง</span><span class="s3">ทำหน้าที่เป็นโค้ชของนักร้องแนวเอ็งกะที่มีชื่อเสียงอีกหนึ่งคน</span><span class="s3">คือ</span> <span class="s3">ฮารุโอะ โอกะ (Haruo Oka) ต</span><span class="s3">่อมาในช่วงเริ่มต้นยุคโชวะ ปลายทศวรรษ 1920 แนวดนตรี Ry</span><span class="s5">ū</span><span class="s3">k</span><span class="s5">ō</span><span class="s3">ka หรือ</span><span class="s3">ที่เรียกว่า Traditional Pop ที่เข้ามามีบทบาทอย่างมากของยุคนี้ เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่กีตาร์ถูกนำมาใช้ร่วมกับดนตรีเอ็งกะ ก่อนที่ต่อมาใน</span><span class="s3"> ค</span><span class="s3">.ศ. 1939 ฮารุโอะ โอกะ จะปล่อยเพลง “Kokky</span><span class="s5">ō</span><span class="s3"> no Haru” </span><span class="s3">ซึ่</span><span class="s3">ง</span><span class="s3">แปลความหมายได้ว่า “Spring at the Border” บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยว</span><span class="s3">กั</span><span class="s3">บสงครามโลกผ่านงานดนตรี และยังนับเป็นแนวดนตรีในศตวรรษที่ 19 ของญี่ปุ่น ที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการเมือง</span></p> <p style="text-align: justify;"> </p> <p style="text-align: justify;"><span class="s3"> หากถามว่าดนตรีเอ็งกะสมัยใหม่เริ่มต้นตั้งแต่เมื่อไหร่ และเป็นไปในทิศทางไหน เพลง</span><span class="s3"> “ Wakare no Ippon-sugi” ซึ่งแปลว่า</span> <span class="s3">“Farewell One Cedar” ค.ศ. 1955 โดยโ</span><span class="s3">ทรุ ฟุนามุระ (Toru Funamura) น่าจะช่วยตอบโจทย์ เพราะได้รับการยอมรับจากคนส่วนใหญ่ว่าเป็นเพลงเอ็งกะที่แท้จริง มีการผสมผสานกลิ่นอายดนตรีแทงโก้แบบตะวันตกที่ถือเป็นจุดลงตัว ช่วยสร้างสีสันและ</span><span class="s3">เสน่ห์ให้กับเพลง</span><span class="s3">ที่ถูก</span><span class="s3">นำไป</span><span class="s3">โค</span><span class="s3">เวอร์</span><span class="s3">ใหม่หลายต่อหลายครั้งโดยนักร้องนักดนตรี</span><span class="s3">ดัง</span><span class="s3">ที่ได้แก่ ฮิเดโอะ มุราตะ (Hideo Murata) ฮิบาริ มิโซระ (Hibari Misora) ทาคาชิ โอโซกาวะ (Takashi Hosokawa) มิชิยะ มิฮาชิ (Michiya Mihashi) เคโกะ ฟูจิ (Keiko Fuji) ซาบุโร</span><span class="s3">ะ คิตะจิมะ (Saburo Kitajima) และฮิโรชิ อิสึกิ (Hiroshi Itsuki)</span></p> <p> </p> <p class="center" style="display: block; margin: 0px auto; text-align: center;"><img src="https://www.museumsiam.org/upload/content_3725/2019_08/1565161720_200.jpg" alt="" width="400" height="400" /> </p> <p class="center" style="display: block; margin: 0px auto; text-align: center;"> </p> <p class="center" style="display: block; margin: 0px auto; text-align: center;"><em>ฮิบาริ มิโซระ (Hibari Misora) “ราชินีเพลงเอ็งกะ” ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในญี่ปุ่น</em></p> <p class="center" style="display: block; margin: 0px auto; text-align: center;"> </p> <p style="text-align: justify;"><span class="s3"> ช่วงหลังสงคราม</span><span class="s3">เป็นช่วง</span><span class="s3">ที่ความนิยมใน R</span><span class="s5">ō</span><span class="s3">kyoku หรือ naniwa-bushi ดนตรีแนวเล่าเรื่อง</span><span class="s3">ซึ่ง</span><span class="s3">มักเป็นเรื่องเศร้าเคล้าน้ำตาของญี่ปุ่น</span><span class="s3">เ</span><span class="s3">พราะเป็นเพลงเศร้าและยาว ทำให้ไม่ตอบความต้องการของคน</span><span class="s3">ฟัง</span><span class="s3">ต่</span><span class="s3">างสมัย ขณะเดียวกันก็ถือเป็นช่วงเวลาที่ดีของเพลงเอ็งกะ</span><span class="s3">ที่เหล่านักร้องที่เคยร้องเพลงทั้ง</span><span class="s3">สอง</span><span class="s3">แนวนี้เปรี</span><span class="s3">ยบว่า เอ็งกะ</span><span class="s3">เป็น R</span><span class="s5">ō</span><span class="s3">kyoku เวอร์</span><span class="s3">ชั่</span><span class="s3">นสั้น ได้รับความนิยมในนักร้องเอง อย่าง</span><span class="s3">ฮารุโอะ มินามิ (Haruo Minami) และ</span><span class="s3">ฮิเดโอะ มุราตะ (Hideo Murata) รวมถึงในก</span><span class="s3">ลุ่มคนฟังทั่วไป </span><span class="s3">และเมื่อกล่าวถึง</span><span class="s3">มุราตะ คงต้องกล่าวถึงอีกหนึ่งนักร้องที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อแนวเพลงเอ็งกะ อย่าง</span><span class="s3">คุโม</span><span class="s3">ะเอมง โทชูเคน (Kumoemon Tochuken) </span><span class="s3">ที่มุราตะเป็นหนึ่งในลูกศิษย์ของเขานั่นเอง</span></p> <p style="text-align: justify;"> </p> <p style="text-align: justify;"><span class="s3"> มาถึงช่วงต้นทศวรรษ 1960 ยุคที่เอลวิส เพรสลีย์</span> <span class="s3">สร้างความนิยมดน</span><span class="s3">ตรีแนวร็อกอะบิลลี </span><span class="s3">ดนตรีแนว Kyu Sakamoto ที่มาจากแนวร็อกอะบิลลีญี่ปุ่นก็ได้รับความนิยมมากขึ้นเช่นกัน ทว่าสวนทางกับมุมมอ</span><span class="s3">งของเหล่านักวิจารณ์</span><span class="s3">ที่เวลานั้นพวกเขาเห็นดีเห็นงามกับเพลงเอ็งกะใน</span><span class="s3">ชื่</span><span class="s3">อ</span><span class="s3"> “Osho” ที่แต่งโดยโทรุ ฟุนามุระ (Toru Funamura) ขับร้อ</span><span class="s3">งเพลงโดยฮิเดโอะ มุระตะ (Hideo Murata)</span> <span class="s3">ใน</span> <span class="s3">ค.ศ. 1961 เพราะมองว่าเป็นดนตรีญี่ปุ่น</span><span class="s3">ที่แท้จริง กลายเป็นซิงเกิลที่จำหน่ายได้เป็นหลักล้านในแดน</span><span class="s3">ปลาดิบ และเป็นความสำเร็จที่ต้องพูดถึงในธุรกิจเพลงเอ็งกะ</span></p> <p style="text-align: justify;"> <img class="center" style="display: block; text-align: center; margin: 0px auto 0px auto;" src="https://www.museumsiam.org/upload/content_3725/2019_08/1565162821_604.jpeg" alt="" width="282" height="400" /></p> <p class="center" style="display: block; margin: 0px auto; text-align: center;"><em>ฮิเดโอะ มุระตะ (Hideo Murata) นักร้องเพลงเอ็งกะ ซิงเกิลที่จำหน่ายได้เป็นหลักล้านในแดนปลาดิบ</em></p> <p class="center" style="display: block; margin: 0px auto; text-align: center;"> </p> <p style="text-align: justify;"><span class="s3"> ในปัจจุบันแม้ว่าแนวดนตรีเอ็งกะเองจะไม่ได้รับความนิยมมากนัก ท่ามก</span><span class="s3">ลางแนวดนตรีสมัยใหม่ โดยเฉพาะในช่วงที่ดนตรีเจป๊อปโด่งดังในยุค 1990 แต่ก็ยังมีแฟนตัวจริงที่คอยติดตามอย่างเหนียวแน่น ประกอบกับมีผู้ฟังหน้า</span><span class="s3">ใหม่ๆ นอกจากนี้ศิลปินยุคใหม่หลายกลุ่มเลือกนำดนตรีเอ็งกะมาสร้างสรรค์งานเพลงที่ได้แก่ คิโยชิ ฮิกาวะ (Kiyoshi Hikawa) และยูโ</span><span class="s3">กะ นากาซาวะ (Yuko Nakazawa) สมาชิกรุ่นก่อตั้งของกลุ่มมอร์นิงมุซุเมะ เช่นเดียวกับ Jero นักร้องเพลงเอ็งกะ ลูกครึ่งแอฟริกัน อเมริกัน ญี่ปุ</span><span class="s3">่นที่หลงใหลเสน่ห์ของดนตรีแนวนี้ ทั้งยังถ่ายทอดออกมาได้ไพเราะอย่างหาตัวจับได้ยาก และได้รับคำชื่นชมอย่างมากแม้กระทั่งในกลุ่</span><span class="s3">มผู้ฟังชาวญี่ปุ่นเอง</span></p> <p> <img class="center" style="display: block; margin: 0px auto; text-align: center;" src="https://www.museumsiam.org/upload/content_3725/2019_08/1565162821_702.jpg" alt="" width="400" height="356" /></p> <p class="center" style="display: block; margin: 0px auto; text-align: center;"> </p> <p class="center" style="display: block; margin: 0px auto; text-align: center;"><em><a href="https://www.amazon.com/Kiyoshi-Hikawa/e/B001LHLT5Q/ref=dp_byline_cont_music_1">Kiyoshi Hikawa</a> ศิลปินยุคใหม่นำดนตรีเอ็งกะมาสร้างสรรค์งานเพลง</em></p> <p class="center" style="display: block; margin: 0px auto; text-align: center;"> </p> <p class="center" style="display: block; margin: 0px auto; text-align: center;"><em><img src="https://www.museumsiam.org/upload/content_3725/2019_08/1565162821_819.jpg" alt="" width="400" height="225" /></em></p> <p class="center" style="display: block; margin: 0px auto; text-align: center;"><em>Jero นักร้องเพลงเอ็งกะ ลูกครึ่งแอฟริกัน อเมริกัน</em></p> <p> </p> <p style="text-align: justify;"><strong><span class="s2">(3) เพลงทร็อต คันทรีเกาหลีใต้ สไตล์ลูกทุ่ง</span></strong></p> <p style="text-align: justify;"> </p> <p style="text-align: justify;"><span class="s3"> หากมีโอกาสฟังเพลงของฮงจินยอง (Hong Jin-young) นักร้องเพลงทร็อต (Trot</span><span class="s3">) ที่มีดีกรีความดังระดับหญิงลีแห่งเกาหลีใต้จนจบ จะพบว่ามีบางอย่างที่ทำให้เรานึกถึงท่วงทำนองเพลงไทยสไตล์ลูกทุ่ง จุดเชื่อมท</span><span class="s3">ี่ทำให้ดนตรีทร็อตยิ่งหน้าสนใจมากขึ้นอีก และหากถามกันตรงๆ ว่าเพลงทร็อตคืออะไร คำตอบสั้นๆ</span> <span class="s3">ง่ายๆ ที่จะได้คือ </span><span class="s3">เพลงคันทรี</span><span class="s3">หรือเพลงลูกทุ่งสไตล</span><span class="s3">์เกาหลี</span><span class="s3">ที่ได้รับอิทธิพลทางดนตรีจากดนตรีเอ็งกะของญี่ปุ่น ในช่วงเวลาที่ญี่ปุ่นเข้ามาปกครองดินแดน (ช่วงปี ค.ศ. 191</span><span class="s3">0</span><span class="s3">-</span><span class="s3">1940) บ้างก็กล่าวว่าดนตรีทร็อตเป็นแนวดนตรีที่เกี่ยวโยงกับรูปแบบดั้งเดิมของบทกวีเกาหลีที่มีมาช้านาน สำหรับความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของดนตรีทร็อตท</span><span class="s3">ี่ต้องพูดถึง</span><span class="s3">คือ ลูกเอื้อนและเนื้อเพลงที่บอกเล่าความยากลำบาก </span><span class="s3">ซึ่ง</span><span class="s3">ต่อมาได้ถูกตัดแปลงให้มีเรื่องเล่</span><span class="s3">าที่หลา</span><span class="s3">กหลายรวมไปถึงเรื่องราวความรักของคนหนุ่มสาวและชีวิตผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมือง</span></p> <p style="text-align: justify;"> </p> <p class="center" style="display: block; margin: 0px auto; text-align: center;"> <img src="https://www.museumsiam.org/upload/content_3725/2019_08/1565163693_119.jpg" alt="" width="400" height="383" /></p> <p class="center" style="display: block; margin: 0px auto; text-align: center;"> </p> <p style="text-align: justify;"><span class="s3"> ยุคต่อมา (ในช่วงปี ค.ศ. 1950</span><span class="s3">-</span><span class="s3">1970) </span><span class="s3">หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองและญี่ปุ่</span><span class="s3">นได้ถอนทัพกลับประเทศ เพลงทร็อตก็เริ่มเติบโตในสไตล์ของตัวเองมากขึ้น สิ่งที่เห็นได้ชัด</span><span class="s3">คือ</span><span class="s3">กลิ่นอายคว</span><span class="s3">ามเป็นตะวันตกที่ยิ่งชัด เพื่อค่อยๆ ขจัดค่านิยมทางอุดมการณ์ของลัทธิคอมมิวนิสต์ และเพื่อดึงคะแนนความสนใจจากทหารอเมริกันที่ประจำการ เช่นเดียวกับ “เอ็งกะ” แนวเพลง</span><span class="s3">ทร็อตมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมืองในแง่มุมโฆษณาชวนเชื่อ หรือ Propaganda สอดคล้องกับบทความที่ตีพิมพ์ใ</span><span class="s3">น Chosun Ilbo ใน ค.ศ. 2010 ที่กล่าวว่ารัฐบาลเกาหลีใต้ได้นำแนวเพลงทร็อตมาใช้เพื่อโฆษณา</span><span class="s3">ชวนเชื่อเพื่อต่อต้านประเทศเกาหลีเหนือ โดยมีเพลงที่แต่งขึ้นและคัดสรรมาราวเ</span><span class="s3">กือบ 200 เพลง ทั้งยังขับร้องโดยศิลปินชื่อดัง</span></p> <p> </p> <p><span class="s3"><img class="center" style="display: block; margin: 0px auto; text-align: center;" src="https://www.museumsiam.org/upload/content_3725/2019_08/1565164389_11.jpg" alt="" width="400" height="225" /></span></p> <p> </p> <p style="text-align: justify;"><span class="s3"> เป็นธรรมดาที่ว่ามีขึ้นก็ต้องมีลง เช่นเดียวกับความนิ</span><span class="s3">ยมเพลงทร็อตที่ค่อยๆ คลายลงในช่วงหลัง (ปี</span> <span class="s3">ค.ศ.</span> <span class="s3">1980</span><span class="s3">-1990) ที่ผู้คนหันไปสนใจเพลงเต้นรำ ก่อนเข้าสู่วัฒนธรรมดนตรีเคป๊อปที่เปลี่ยนอุตส</span><span class="s3">า</span><span class="s3">หกรรมเพลงของเกาหลีใต้ครั้งให</span><span class="s3">ญ่ไปตลอดกาล แต่สุดท้ายเพลงทร็อตก็ยังไม่ได้หายไปไหน และยังคงปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยตามลำดับ ประก</span><span class="s3">อบกับยุคนั้นเป็นยุคของเทปคาสเซ็ทที่มีส่วนช่วยให้เพลงทร็อตถูกนำไปต่อยอดในหลายทาง (localization of trot music) ร่วมกับหลายแนวดนตรี</span></p> <p style="text-align: justify;"> </p> <p style="text-align: justify;"><span class="s3"> สำหรับหนึ่งตัวอย่างที่น่าสนใจข</span><span class="s3">องการต่อลมหายใจให้กับเพลงทร็อตในยุคสมัยใหม่</span><span class="s3">คือ การฟอร์มทีมวงซูเปอร์จูเนียร์ ที (Super Junior-T)</span><span class="s3"> หรือ</span><span class="s3">ซูเปอร์จูเนียร์ ทรอท (Super Junior-Trot) ใน ค.ศ.</span> <span class="s3">2550 ศิลปินกลุ่มย่อยที่มีสมาชิก 6 คนอย่างเป็นทางการ ลำดับที่ 2 ของซูเปอร์จูเนียร์ จากวิชั่นของค่ายเพลง SM E</span><span class="s3">nter</span><span class="s3">t</span><span class="s3">ainment ที่ไม่อยากให้เพลงทร็อตของเกาหลีใต้เสื่อมความนิยมลงไปตามกาลเวลา ด้วยการถ่ายทอดเพลง</span><span class="s3">ทร็อตที่ผสมผสานกับแนวดนตรีใหม่ ใส่ความเท่</span><span class="s3">บวกความสดใสสนุกสนาน ช่วยให้คนรุ่นใหม่รู้จักเพลงทร็อตมากกว่าแค่เพลงที่มาจากยุคสมัยดั้งเดิม</span></p> <p> </p> <p class="center" style="display: block; margin: 0px auto; text-align: center;"><span class="s3"><img src="https://www.museumsiam.org/upload/content_3725/2019_08/1565163695_65.jpg" alt="" width="360" height="360" /></span></p> <p> </p> <p style="text-align: justify;"><span class="s3"> และนอกจากนักร้องเพลงทร็อตที่ได้</span><span class="s3">กล่าวถึงไปแล้ว คุณยังสามารถติดตามนักร้องเหล่านี้เพิ่มเติม</span><span class="s3">ซึ่ง</span><span class="s3">ได้แก่ นาฮุนอา (Na Hoon A) จ</span><span class="s3">างยุนจอง (Jang Yun-jeong) และปาร์คฮยอนบิน (Park Hyun-bin)</span></p> <p> </p> <p class="center" style="display: block; margin: 0px auto; text-align: center;"><span class="s3"><img src="https://www.museumsiam.org/upload/content_3725/2019_08/1565163695_855.jpg" alt="" width="400" height="200" /></span></p>
วันที่แก้ไขล่าสุด : 7 สิงหาคม 2562